เติมน้ำมัน เต็มถัง กับ ครึ่งถัง แบบไหนประหยัดน้ำมันกว่ากัน

เติมน้ำมัน เต็มถัง กับ ครึ่งถัง แบบไหนประหยัดน้ำมันกว่ากัน

ถ้าเราเติมน้ำมันครึ่งถังเป็นประจำก็จะไม่ช่วยประหยัดน้ำมัน และส่งผลไม่ดีต่อเครื่องยนต์อีกด้วย เนื่องจากน้ำมันที่ไหลผ่านปั้มติ๊ก จะช่วยให้ปั้มติ๊กไม่ร้อนและมีการหล่อลื่นเมื่อ น้ำมันในถังเหลือน้อย จึงทำให้ปั้มติ๊กต้องทำงานหนักมากขึ้นในการสูบน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำลงไป ประกอบกับไม่มีน้ำมันมาห่อหุ้มเพื่อระบายความร้อน และหล่อลื่นของปั้มติ๊ก ซึ่งทั้งสองเหตุผลจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ปั้มติ๊กเริ่มเสื่อมสภาพ

นอกจากนี้ ถ้าน้ำมันในถังน้อยจนเกินไป จะส่งผลให้กลไกลูกลอยวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเกิดความเสียหายได้ ยิ่งถ้าระดับน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในระดับต่ำแล้วขับขี่ด้วยความเร็วสูง พร้อมยังผ่านพื้นถนนที่มีความขรุขระจะทำให้กลไกลูกลอยมีการสั่นสะเทือนและกระแทก อาจจะทำให้ลูกลอยหลุด และแสดงระดับน้ำมันในถังไม่เที่ยงตรง หรือเรียกอีกอย่างว่า เกจ์วัดระดับน้ำมันเสียนั่นเอง

แต่ถ้า เติมน้ำมัน ในขณะที่น้ำมันเกือบเต็มถัง หรือเติมน้ำมันที่มากเกินไป ไอระเหยของน้ำมันจะทำให้ระบบเครื่องยนต์มีปัญหา อีกทั้ง น้ำมันอาจจะซึม หรือกระฉอกออกมาจากฝาถังน้ำมัน ในขณะที่กำลังขับรถ อาจจะทำให้เปื้อน ทำลายสีรถ และเกิดอันตรายได้

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำ วิธีการ เติมน้ำมัน ที่ถูกต้องว่า ควรเติมน้ำมันให้เกิน ¾ ของถังน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้น้ำมันในถังน้ำมันแห้งบ่อยๆ เพราะจะส่งผลไม่ดีต่อรถของเรา อีกทั้ง รอให้น้ำมันเหลือ ¼ ของถังก่อน แล้วค่อย เติมน้ำมัน เพราะจะช่วยถนอมและรักษาเครื่องยนต์ให้ใช้ไปอีกยาวนาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://auto.mthai.com/news/tips/62793.html

“ลมดูด” จากรถคันหน้ามีจริงหรือ

“ลมดูด” จากรถคันหน้ามีจริงหรือ

ในการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต เรามักจะได้ยินผู้บรรยาย พูดถึงคำว่า Slipstream หรือ ลมดูด ในจังหวะที่รถแข่งกำลังจะไล่แซงกันในช่วงทางตรง แท้จริงแล้ว “Slipstream” มันคืออะไร และที่ผู้ใหญ่พูดกันว่าขับรถทางไกลระวังถูกรถสิบล้อดูด มันดูดได้จริงหรือ

ขับจี้ตูดแล้วแซง! นั่นแหละ Slipstream ในมอเตอร์สปอร์ต

หากพูดถึงในวงการมอเตอร์สปอร์ต ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันรถสี่ล้อ หรือสองล้อ หากสังเกตให้ดี จังหวะแซงในช่วงทางตรงแต่ละครั้งนั้น รถคันที่ไล่มักจะต้องขับไล่จี้ท้ายรถคันหน้า (วิ่งอยู่ในเรซซิ่ง ไลน์เดียวกัน) ก่อนที่จะเปลี่ยนทิศทางเพื่อแซงในที่สุด น้อยครั้งมากที่เราจะเห็นรถวิ่งมาคนละเรซซิ่งไลน์และแซงขึ้นหน้าแบบง่ายๆ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น หมายความว่ารถคันที่ไล่แซงจะต้องมีพละกำลังมากกว่าคันที่ถูกแซงมากพอสมควร

ฉะนั้นการขับแบบจี้ตูดแล้วแซงในสนามแข่งมอเตอร์สเปอร์ต คือเทคนิคที่นักแข่งทุกคนรู้ดี และนี่แหละที่เรียกกันว่า Slipstream หากอ้างอิงตาม “กลศาสตร์ของไหล” หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของของไหล (ของเหลวและก๊าซ) จะหมายถึง การที่วัตถุพุ่งแหวกอากาศ (รถวิ่งด้วยความเร็ว) ทำให้รถคันด้านหลังที่ตามมาในระยะประชิดไม่ต้องรับแรงปะทะจากอากาศ และเกิดช่องว่างระหว่างรถ 2 คัน ซึ่งถือเป็นช่องว่างที่ไม่มีแรงต้านของมวลอากาศ และมีความดันอากาศต่ำ เปรียบเสมือนเป็นแรงดูดให้รถคันหลังเข้าไปได้ใกล้ขึ้นกว่าปกตินั่นเอง

Slipstream เทคนิคยอดฮิตการแข่งขันจักรยานทางไกล

ที่ผ่านมาเราเคยมีข่าวเศร้าที่มีคนปั่นจักรยาน พยายามปั่นตามท้ายรถสิบล้อ เพื่ออาศัย Slipstream เพื่อช่วยผ่อนแรงในการปั่น ทว่าสุดท้ายก็ประสบอุบัติเหตุหลุดเข้าไปอยู่ท้ายรถสิบล้อกันมาแล้ว อย่างไรก็ดีในการแข่งขันจักรยานทางไกล เทคนิคดังกล่าว ถือเป็นแนวทางที่นั่กปั่นส่วนใหญ่เลือกใช้

ในการปั่นจักรยานทางไกลนั้น นักปั่นจะใช้เทคนิคนี้ ปั่นประชิดจักรยานของคู่แข่ง ซึ่งตามศัพท์นักปั่นมักจะเรียกกันว่า “ดูด” หรือ “ซุก” เพื่อประหยัดแรง ซึ่งเป็นหลักการทางอากาศพลศาสตร์เดียวกันกับการแข่งขันในฝั่งมอเตอร์สปอร์ตเช่นกัน ซึ่งจากผลวิจัยพบว่า การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้นักกีฬาจักรยานประหยัดแรงได้ถึง 30-40 เปอร์เซนต์เลยทีเดียว อย่างไรก็ดี ต้องย้ำว่า ต้องเป็นจักรยานกับจักรยานด้วยกันเท่านั้น ห้ามไปดูดท้ายรถยนต์หรือรถสิบล้อเป็นอันขาด

ขับทางไกลต้องระวัง “รถสิบล้อ” ดูดจริงหรือ

เรามักจะได้ยินผู้ใหญ่คอยเตือนเสมอว่า หากขับรถทางไกล ต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราขับรถเล็ก อย่าไปขับเข้าใกล้รถสิบล้อ จะเป็นอันตราย ซึ่งที่มาของคำเตือนนี้ก็มีหลักการมาจาก กลศาสตร์ของไหล เช่นเดียวกัน แต่ที่อันตรายกว่านั้นคือ รถบรรทุก เป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่และสูง เมื่อรถวิ่งแหวกอากาศไปด้วยความเร็ว จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรถคันหลังมากกว่าการขับตามรถชนิดอื่นๆ

นั่นหมายความว่า หากคุณขับรถที่มีขนาดเล็ก ไล่ตั้งแต่ จักรยาน จักรยานยนต์ หรือขยับขึ้นมาเป็นรถในระดับอีโคคาร์ ซึ่งเป็นวัตถุที่มีน้ำหนักเบา ย่อมมีโอกาสเสี่ยงอันตรายจากการขับตามท้ายรถสิบล้อ หากขับจี้ในระยะประชิดนั่นเอง ขณะเดียวกันยังไม่รวมถึงอันตรายที่อาจจะเกิดจากการเบรกกะทันหัน รวมถึงจังหวะขับสวนรถบรรรทุกด้วยความเร็วสูง คุณจะรู้สึกได้ถึงมวลของอากาศที่เข้ามากระทบรถของคุณนั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://auto.sanook.com/65425/

ขณะเติมน้ำมัน ต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้ง หรือไม่?

ขณะเติมน้ำมัน ต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้ง หรือไม่?

เติมน้ำมัน ทุกครั้ง เรามักได้ยินเสียงพนักงานปั้มน้ำมันบอกว่า ดับเครื่องยนต์ ด้วยครับ/ค่ะ ซึ่งบางคนก็ ดับเครื่องยนต์ บางคนก็ไม่ ดับเครื่องยนต์ จนทำให้หลายคนสงสัยและตั้งคำถามว่า แล้วถ้าไม่ ดับเครื่องยนต์ จะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่ จริงๆ แล้วจำเป็นหรือไม่ที่จะต้อง ดับเครื่องยนต์ วันนี้เราจะไปทำความเข้าใจกับเรื่องนี้กัน

ตามมาตรฐานของ สถานีบริการน้ำมัน ทั่วโลกจะมีกฎเหล็กที่ต้องปฏิบัติตาม ถ้าเราสังเกตเห็นป้ายเตือนเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ดับเครื่องยนต์ ทุกครั้งขณะ เติมน้ำมัน, ห้ามสูบบุหรี่ขณะ เติมน้ำมัน, ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะ เติมน้ำมัน, และข้อสุดท้ายคือ ห้ามก่อประกายไฟอย่างเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัย

สำหรับคนที่ช่างสังเกต เรามักจะเห็นไอน้ำมันที่ลอยละเหย อยู่รอบๆ ฝาขณะกำลัง เติมน้ำมัน อยู่ ซึ่งเจ้าตัวไอน้ำมันเนี๊ยแหละเป็นตัวอันตรายที่อาจจะก่อให้เกิดประกายไฟและไฟลุกไหม้ได้ ถึงแม้ว่าสถานีบริการน้ำมันจะมีการออกแบบให้มีจุกยางครอบฝาเติมน้ำมันเอาไว้แล้วก็ตาม เพื่อป้องกันไอน้ำมันระเหยออกมา แต่สุดท้ายก็อาจจะมีการรั่วไหลได้อยู่ดี ถึงแม้จะมีปริมาณน้อยก็ตาม

สิ่งที่เป็นกฎเหล็กที่สถานีบริการน้ำมันต้องปฏิบัติ

ในขณะที่ เติมน้ำมัน ควรจะต้อง ดับเครื่องยนต์ ทุกครั้ง เพราะเนื่องจากเราจะไม่รู้เลยว่าชิ้นส่วนไหนบ้างของรถยนต์อาจจะเกิดความบกพร่องจนเป็นเหตุทำให้เกิดความร้อนจนไฟลุกไหม้ได้
ห้ามสูบบุหรี่ในขณะเติมน้ำมัน ซึ่งบุหรี่เป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้ก่อให้เกิดการลุกไหม้
ห้ามใช้โทรศัพท์ ข้อนี้หลายคนก็จะงุนงงไม่น้อยว่าว่าข้อนี้เกี่ยวอะไร ซึ่งโทรศัพท์มือถืออาจจะมีความเสี่ยงจากความร้อนของคลื่นไฟฟ้าอยู่ดี
ห้ามก่อประกายไฟอย่างเด็ดขาด ข้อนี้ก็ตรงตัวอยู่แล้ว เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณเอง และคนรอบข้าง

ขับรถเดินทางไกล ต้องเติมลมยางอ่อนหรือแข็ง?

ขับรถเดินทางไกล ต้องเติมลมยางอ่อนหรือแข็ง?

 

บางคนอาจคิดว่า การขับรถเดินทางไกลควรที่จะเติมลมยางให้อ่อนกว่าปกติ เพราะคิดว่าเมื่อล้อหมุนนานๆ มันจะไปเพิ่มแรงดันลมยาง ทำให้แรงดันในยางมีมากขึ้น เสี่ยงที่จะเกิดอาการยางระเบิด ดังนั้นจึงไปลดแรงดันลมยางให้อ่อนลง ซึ่งจริงๆ แล้วมันถือเป็นความคิดที่ผิด เพราะลมยางที่อ่อนเกินไปจะทำให้ยางมีความยืดหยุ่นมากเกินพอดี แถมยังทำให้เกิดการเสียดสีกับถนนมากกว่าปกติ นอกจากนี้ยางจะไม่สามารถคงรูปเป็นวงกลมได้ จะมีลักษณะเป็นคลื่นมากกว่า ยิ่งวิ่งใช้งานไปนานๆ จะยิ่งทำให้เกิดความร้อนสะสมเพิ่มมากขึ้น และเมื่อตกหลุม หรือโดนกระแทกแรงๆ ก็อาจทำให้ยางเกิดระเบิดได้ง่ายอีกด้วย

ทางที่ดีคุณจึงควรเติมแรงดันลมยางให้มากกว่าเดิมตามที่ผู้ผลิตแนะนำสักเล็กน้อย เช่น จากเดิมเติมลมยางปกติอยู่ที่ 30 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) ก็ให้เติมเพิ่มเข้าไป 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) มันก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 32 – 33 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) นอกจากนี้หากคุณต้องขนของ หรือมีสัมภาระท้ายรถเยอะมากๆ คุณก็ควรที่จะเพิ่มแรงดันยางรถยนต์คู่หลังให้มากกว่าที่ระบุไว้ในคู่มือ เพื่อให้น้ำหนักกระจายไปได้ทั่วๆ ตัวรถ

การเติมลมยางให้มากกว่าเดิม นอกจากจะทำให้ยางรถยนต์คงที่ ลดการเสียดสีกับพื้นถนน และทำให้ไม่ระเบิดง่ายแล้ว มันยังช่วยทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเดินทางไกล หรือใกล้ อย่าลืมเช็กลมยางให้ดี จะได้เดินทางปลอดภัยไร้กังวล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://auto.sanook.com/63485/

“วาล์วรถยนต์” ควรเช็กตอนไหนดี?

“วาล์วรถยนต์” ควรเช็กตอนไหนดี?

เช็ก “วาล์ว” รถยนต์ที่ระยะเท่าไร?
สำหรับการตั้งวาล์วรถยนต์นั้น จะกระทำการตั้งวาล์วเมื่อถึงระยะทางที่คู่มือรถกำหนด หรือเมื่อเครื่องยนต์เกิดอาการ สั่น กระตุก สะดุด เบาดับ เร่งไม่ขึ้น กินน้ำมัน ไฟโชว์ ฯลฯ อาการเหล่านี้เตรียมไปเช็กวาล์วได้เลย เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ถึงขั้นวาล์วยัน และมันจะพาให้ชิ้นส่วนอื่นพังเสียหายไปด้วย โดยเฉพาะรถติดแก๊ส เนื่องจากชิ้นส่วนนี้จะสึกหรอเร็วกว่ารถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงค่ะ

– รถใช้น้ำมันปกติควรเช็กวาล์วที่ระยะ 80,000 – 100,000 กิโลเมตร 
– รถติดแก๊สควรเช็กวาล์วที่ระยะ 50,000 – 70,000 กิโลเมตร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://auto.sanook.com/65897/